เกี่ยวกับเรา ประวัติบริษัท

ประวัติบริษัท


โชบุ เป็นชื่อ บริษัทผู้คิดค้นเครื่องหมักปุ๋ย( http://www.ecotec-compo.com/ ) ระบบปิด ทางสุนทรฟาร์ม ร่วมกับ บริษัทคิงส์ เอ้กส์(ประเทศไทย) ได้นำเข้าเครื่อง หมักปุ๋ยโชบุ เพื่อหมักมูลไก่ไข่ ของทางฟาร์มเราเอง โดยใช้มูลไก่ไข่ 100 % เข้าหมักในระบบ ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก และได้รับการยอมรับในวงกว้าง ในวงการเพาะปลูก ในพืชพันธุ์ทุกชนิด เมื่อนำ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยขี้ไก่ ที่ได้เข้าส่งตรวจใน แล็ปของกรมวิชาการเกษตร มีทั้งธาตุอาหารหลัก และ รองเป็นจำนวนมาก ทางฟาร์ม เลงเห็นความสำคัญและประโยชน์ของ มูลไก่ไข่หมักโชบุ จึงได้ทำการขยายผล เพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งมีการปรับปรุงคุณภาพ ให้ได้มาตรฐาน มีบรรจุภัณฑ์ รวมถึง มีการนำ มาอัดเม็ดอบแห้งไล่ความชื้น ให้สะดวกในการใช้งาน และให้คงสภาพก่อนนำกระจายสู่ เกษตรกร นำไปใช้ ทั้ง ไร่ นา สวน ผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ โดยสามารถใช้ได้ทั้งปรับสภาพดิน รองพื้น หรือเสริมกับปุ๋ยเคมีตามต้องการ


สุนทรฟาร์ม และ บริษัทคิงส์ เอ้กส์(ประเทศไทย) จำกัด

คือ ฟาร์มไก่ไข่ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลไก่ไข่เป็นของตนเอง มั่นใจได้ว่าเป็นมูลไก่ไข่แท้ๆ จากฟาร์ม มาตรฐานระบบปิด 100 % (http://www.rachakaikai.com, http://www.KingEgg.com )

ชื่อโชบุ จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อ รวมถึงทางฟาร์มยังได้ทำการขอ อนุญาตผลิตปุ๋ยมูลอินทรีย์ กับกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กำลังการผลิต ทางบริษัทได้ขยายกำลังการผลิต จากรุ่นทดลอง วันละ 800 กิโลกรัม เป็น 20 ตัน/วัน
โดยมี บริษัท ธนไพศาล เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ฟ จำกัด เป็นผู้ออกแบบระบบและสร้างเครื่องผลิตปุ๋ยขี้ไก่ แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์คุณภาพได้เท่าใดนักและใช้งานมาไม่ถึงปีเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

ภาพระบบการผลิตเดิม

ปัจจุบัน คุณชาณุวัฒณ์ (พ่อเลี้ยง)ได้ลงทุน ถอนระบบของบริษัทธนไพศาล ออกทั้งหมดและได้แก้ไข ระบบทั้งหมดเพื่อให้สามารถผลิตได้มาตรฐานคุณภาพสูง ยิ่งขี้นโดยมีแนวคิดที่ว่า โชบุ ต้องเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีที่สุดและมีมาตรฐาน และจะมีผลิตภัณฑ์ ในขนาด แพค 1 กิโลกรัม 5 กิโลกรัม และ 10 กิโลกรัม เพื่อรองรับความต้องการปุ๋ยมูลไก่ไข่ ที่หลากหลายมากขึ้น

ภาพ ระบบการผลิตใหม่

ส่วนขั้นตอนการผลิตนั้นมีดังนี้

ขั้นตอนการทำงาน

1.ลำเลียงมูลไก่ออกจากโรงเรือนเลี้ยงไก่ โดยชุดนำมูลไก่ออกจากกรง
2.นำมูลไก่ขึ้นรถบรรทุกโดยชุดนำมูลไก่ใส่รถเพื่อนำไปลงเครื่องหมักปุ๋ยโชบุ ประมาณ 9 ตัน
3.เมื่อมูลไก่มาถึงเครื่องหมักปุ๋ยโชบุ ใช้รถตักมูลไก่ลงกะบะเครื่องโชบุเข้าสู่ภายในเครื่อง จนหมด
4.ทำขั้นตอนที่ 1-3 จนครบ 7-9 วัน
5.เมื่อครบกำหนด 7-9 วัน เปิดฝาเครื่องด้านล่างในส่วนนำมูลไก่ที่ผ่านกระบวนการเป็นปุ๋ยออกประมาณ 4-6 ตันจนมูลไก่ภายในเครื่อง สามารถเติมได้อีก 9 ตัน เมื่อปุ๋ยมูลไก่ออกจากเครื่องจะเข้าสู่กระบวนการปั้นเม็ดในทันทีโดยเครื่องปั้นมูลไก่จะทำงานอัตโนมัติ จนได้เป็นเม็ดปุ๋ย บรรจุใส่ไซโลเก็บปุ๋ย
6.เมื่อนำมูลไก่ผ่านกระบวนการหมักออกแล้ว ทำตามขั้นตอนที่ 1-3
7.ในวันถัดไป ทำตามขั้นตอนที่ 5(นำปุ๋ยขี้ไก่ออกจากเครื่อง ) 1(ลำเลียงมูลไก่ออกจากกรง) , 2(นำมูลไก่ใส่รถบรรทุก , 3(นำมูลไก่ใส่เครื่องหมักปุ๋ย)


หลักการทำงานเครื่องโชบุ

1.เมื่อนำมูลไก่ไข่สด ใสเข้าสู่เครื่องหมักปุ๋ยโชบุ 1 ใน 7 ส่วนของเครื่องโชบุ ซึ่งเป็นรูปทรงกระบอกแนวตั้งมีผนังเป็นชนวนเก็บกักความร้อน ภายในจะมีใบกวน และมีเครื่องอัดอากาศเข้าเครื่องผ่านทางด้านล่าง มูลไก่ในเครื่องเมื่อมีการกวนโดยใบกวนอย่างช้าๆ ประกอบกับมีการเติมอากาศตลอดเวลา ทำให้เกิดปฏิกิริยา เคมี (Fermentation) เกิดความร้อนหมุนเวียนเร่งปฏิกิริยาเคมี มูลไก่จะค่อยๆ ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
2.ทุกวันจะมีการเติมมูลไก่สดลงไปเพิ่ม 1 ใน 7 ส่วนทุกวัน มูลไก่ใหม่จะเข้าไปอยู่ด้านบนของมูลไก่ที่เข้าไปในวันก่อนหน้าเกิดเป็นชั้นปฎิกิริยา ความร้อนจากด้านล่างจะหมุนสู่ด้านบนเป็นการช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี(Fermentation) มูลไก่ใหม่ก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยอย่างช้าๆ
3.เมื่อมูลไก่เต็มเครื่อง ภายในเครื่อง มูลไก่ที่เข้าไปก่อนสุดจะอยู่ด้านล่าง เรียงเป็นชั้น ๆ ด้านบนจะเป็นมูลไก่ใหม่ ตามลำดับ มูลไก่ที่อยู่ด้านล่างสุด จะเป็นมูลไก่ที่ย่อยสลายเป็นปุ๋ยเรียบร้อยแล้ว มีความชื้นประมาณ 40-60 % หรือสามารถเข้าเครื่องปั้นเม็ดได้ทันที
4.ในขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีการเติมอากาศเข้าไปภายใน และอากาศจะออกจากเครื่องโชบุทางด้านบน ไออากาศจะผ่านเครื่อง กำจัดกลิ่นและเคมี (Deodorizing) โดยไอระเหยจะผ่านระบบน้ำ และ ชั้นหิน ปูน กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ออกสู่บรรยากาศ


หลักการทำงานของเครื่องปั้นเม็ดปุ๋ย

1.เมื่อปุ๋ยมูลไก่ออกจากเครื่องโชบุ จะเข้าสู่เครื่องแยกกากเพื่อให้ได้ผงละเอียด ซื่งเหมาะสำหรับการปั้นเม็ด เก็บเข้าไซโลผงละเอียด
2.ผงละเอียดจะถูกลำเลียงเข้าเครื่องผสมเพื่อผสมปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการให้ได้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
3.เมื่อได้ผงปุ๋ยตามส่วนผสม แล้วจะเข้าสู่กระบวนการ อัดเม็ด โดยจะต้องปรับความชื้นให้พอเหมาะกับการอัดเม็ด
4.เมื่อผ่านการอัดเม็ดเรียบร้อยจะเข้าสู่กระบวนการปั้นให้เม็ดปุ๋ยกลม เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ของเกษตรกร ซึ่งเม็ดปุ๋ยที่ได้จะเป็นเม็ดปุ๋ยขนาด ที่เกษตรกรสามารถใช้กำเครื่องหว่านปุ๋ยอัตโนมัติทั้วไปได้ทันที
5.เมื่อได้เม็ดปุ๋ยตามขนาดที่ต้องการ เม็ดปุ๋ยจะถูกลำเลียงผ่านท่ออบเม็ดปุ๋ย จะเป็นเป็นการอบร้อน และจะอบเย็นปิดท้าย
6.เม็ดปุ๋ยจะถูกคัดแยกขนาดอีกครั้งเพื่อให้ได้เม็ดปุ๋ยที่มีขนาดมาตรฐานเสมอกัน เม็ดปุ๋ยที่ไม่ได้ขนาดจะถูกนำกลับไปปั้นเม็ดใหม่
7.เม็ดปุ๋ยที่มีขนาดได้มาตรฐานจะลำเลี้ยงสู่ไซโลเก็บปุ๋ยเพื่อเตรียมบรรจุ ออกจำหน่ายให้เกษตรต่อไป